นโยบายสิ่งแวดล้อม
บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันที่นับว่ามีปัญหาร้ายแรง เข้าขั้นวิกฤต ซึ่งส่งผลกระทบการดำเนินงานจัดการกับผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ที่มาจากการดำเนินธุรกิจต่อคุณภาพชีวิต ของคนในสังคม และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นแนวทาง ของบริษัทฯ และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การจัดการก๊าซเรือนกระจก
วัตถุประสงค์
ผลการทวนสอบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ปี 2566
TRUBB ได้ดำเนินการจัดการข้อมูลแหล่งปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรตั้งแต่ปี 2565 ตามแนวทางขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก และได้ดำเนินการทวนสอบข้อมูลของปี 2566 เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อการรับรองจากองค์กรบริหารก๊าซเรือนกระจก โดยปริมาณ คาร์บอนเทียบเท่า รายงานได้ดังนี้ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกะจกอย่างต่อเนื่องร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงต่อกิจกรรมทางธุรกิจ แสดงการมีส่วนร่วมในการที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2573 (ค.ศ.2030) ตามแนวทางของสหประชาชาติ
เป้าหมาย
2573 : Carbon Neutral (2030)
2593 : Net Zero (2050)
2573 : Carbon Neutral (2030)
2593 : Net Zero (2050)
ในการจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ในปี 2593 (2050) ตามความร่วมมือของสหประชาติจำเป็นที่จะต้องทราบแหล่งปล่อยก๊าซจากการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนจัดการแหล่งปล่อย เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น TRUBB จึงได้ระบุโครงการสำคัญที่ต้องจัดการเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ในอนาคต
ผลการดำเนินงานการขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ปี 2566
Scope1 | Scope 2 | Scope 3 ** |
|
|
** รายการนอกเหนือจากนี้ ยังไม่ได้ รวมในการรับรองปี 2566 |
ผลการทวนสอบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ปี 2566
ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (หน่วย : tCO2e)
|
2565 (Rebase)
|
2566
|
Note
|
Scope 1
|
786
|
1,016
|
* ปี 2565 : แก้ไขตัวเลขเนื่องจากมีการปรับ EF และขอบเขตการทวนสอบนับเฉพาะในกลุ่มน้ำยางข้นเท่านั้น
** ปี 2566 : เป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าขององค์กร ที่ได้รับการทวนสอบแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการขอรับรองจาก อบก.
|
Scope 2 | 6,663 | 6,324 | |
Scope 3 | - | 13,074** | |
Total | 7,449* | 20,414** |
นโยบายการดำเนินการจัดการพลังงาน
บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติตาม พรบ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (แก้ไข พ.ศ. 2550) จึงได้กำหนดให้มีการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กร โดยให้ใช้พลังงานในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ประหยัดการใช้พลังงาน ยังส่งผลให้บริษัทฯ สามารถลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีส่วนช่วยสนับสนุนความยั่งยืนให้กับองค์กร และตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนสากล ในข้อ 7 Affordable and Clean Energy, ข้อ 12 Responsible Consumption and Production และ ข้อ 13 Climate Action และด้วยนโยบายฉบับนี้ บริษัทฯ จึงขอประกาศแนวทางการดำเนินงานการบริหารจัดการ การอนุรักษ์พลังงาน
- ดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานอย่างเหมาะสม โดยกำหนดให้การอนุรักษ์พลังงานเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้พนักงานทุกคนมีวัฒนธรรมในการอนุรักษ์พลังงาน
- ดำเนินการบำรุงรักษาและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง และสรรหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปและมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน
- กำหนดแผนและเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมทั้งทบทวนและปรับปรุงนโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์พลังงานทุกปี
- มอบหมายให้การอนุรักษ์พลังงาน เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ทุกระดับและทุกคน ในการให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน รวมถึงส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
- ให้การสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณ เวลาในการทำงาน การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและการอนุรักษ์พลังงาน
- มุ่งมั่นปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการพลังงาน
- โครงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์จาก Solar Cell ทดแทนพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
- โครงการ เปลี่ยน ปรังปรุง เครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ การใช้พลังงานลดลง
- กิจกรรมอื่น ๆ ในองค์กร ที่จะช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงานเพื่อให้มีส่วนร่วมในการ ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในธุรกิจ
การใช้พลังงาน | ผลการดำเนินงาน ปี 2565 |
ผลการดำเนินงาน ปี 2566 |
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า (kWh) | 13,329,539 | 12,650,312 |
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย (kWh / หน่วย) | 101 | 110 |
ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง (Kg) | 66,309 | 126.336 |
ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงต่อหน่วย (Kg / หน่วย) | 2.00 | 2.34 |
ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (Litr) | 251,437 | 223,235 |
ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหนน่วย (Kg / หน่วย) | 2.23 | 2.23 |
ปรับปรุง ณ วันที่ 2/5/2024
การจัดการทรัพยากรน้ำ
ในการผลิตน้ำยางข้น "น้ำ" เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญมากในกระบวนการผลิต เมื่อโลกต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้เกิดภาวะความแห้งแล้ง ขาดแคลนทรัพยากรน้ำ บริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยยึดหลัก 3Rs กำกับดูแลกาารใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพที่สุด จัดหามาตรการป้องกันและลดผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย
- ลดกาารใช้ทรัพยากรน้ำ ร้อยละ 8 ภายในปี 2573
- ไม่มีความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำขาดแคลน
- หมุนเวียนใช้น้ำภายใน 100%
- ไม่ปล่อยน้ำลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
แนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยใช้หลัก Reduce, Reuse, Recycle
การจัดการน้ำดี
- การสร้างแหล่งสำรองน้ำดิบ เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ยามเกิดวิกฤตภาวะขาดแคลนน้ำ
- ติดตามสถานการณ์น้ำ ประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำขาดแคลน
- ลดปริมาณการดึงน้ำดิบมาใช้ บำบัดน้ำหมุ่นเวียนใช้ในโรงงาน
- การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ควบคุม ติดตามการใช้ปริมาณน้ำดิบ เพื่อการผลิต
การจัดการน้ำเสีย
- การควบคุมดูแลให้จัดการน้ำเสีย ให้ได้ค่ามาตรฐานตามกฎหมาย และข้อบังคับ ด้านสิ่งแวดล้อม
- บำบัดน้ำเสีย มุ่งเน้นการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ประโยชน์ภายในโรงงาน
- ไม่ปล่อยน้ำสู่แหล่งน้ำชุมชน 100%
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดทรัพยากรน้ำ
ชุมชนสัมพันธ์
- สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อดูแลรักษาแหล่งน้ำโดยรอบพื้นที่โรงงาน
- ประสานงานกับชุมชนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำชุมชน
ผลการดำเนินงานด้านดารจัดการน้ำ
การใช้น้ำ | ผลการดำเนินงานปี 2565 | ผลการดำเนินงานปี 2566 |
ปริมาณการใช้น้ำ (คิว) | 372,206 | 348,869 |
ปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย (คิว/หน่วย) | 1.55 | 1.50 |
การจัดการน้ำเสีย
แนวทางการดำเนินงาน |
|
ผลการดำเนินงาน |
|
การประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำ ปี 2566
TRUBB ได้พัมฯาแหล่งเก็บน้ำเพื่อรองรับน้ำฝน หรือ น้ำผิงดิน ที่สามารถรองรับการผลิตได้ตลอดทั้งปี และ บริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงเรื่องน้ำโดยใช้เครื่องมือแผนที่ความเสี่ยงน้ำ Water Risk Filter จาก WWF โดยผลประเมินพบว่า
ภาคใต้ - ไม่มีความเสี่ยง
- สาขาหาดใหญ่
- สาขาสุราษฎร์
- สาขาเชียงราย
- สาขาชลบุรี
- สาขาระยอง
*** สรุปได้ว่า TRUBB ไม่มีความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ ***
โครงการเพื่อการบริหารจัดการน้ำ
การบริหารความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กรที่จะช่วยให้การบริหารงานและการตัดสินใจด้านต่างๆ ตลอดจนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ และลดการสูญเสียและโอกาสที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรและชุมชนโดยรอบโรงงาน “น้ำ” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในกระบวนการผลิตที่จะทำให้ TRUBB สามารถประกอบกิจการได้อย่างยั่งยืน ป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำรวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนโดยรอบ TRUBB เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงกำหนดแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำ มุ่งเน้นให้บรรุลุเป้าหมาย “มีน้ำเพียงพอต่อการผลิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต” ผ่านโครงการลด/ควบคุมการใช้น้ำและโครงการดึงน้ำกลับมาใช้ใหม่โดยมีแนวทางในการบริหารจัดการน้ำดังนี้
- บริหารจัดการน้ำให้มีการใช้น้ำอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ลดความเสี่ยงด้านน้ำ ด้วยการบริหารจัดการน้ำ โดยการควบคุมการใช้น้ำในกระบวนการผลิต ลดปริมาณการดึงน้ำจากแหล่งชุมชนมาใช้ จัดเตรียมแหล่งน้ำสำรองในกรณีเกิดภัยแล้ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน และติดตามตรวจสอบสถานการณ์น้ำของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
- บำบัดน้ำทิ้งให้ได้คุณภาพ และหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ บำบัดน้ำทิ้งให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานกำหนด ติดตามปริมาณและคุณภาพน้ำ ที่ปล่อยออกให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมไปถึงการนำน้ำในระบวนการผลิตนำกลับมาใช้หมุนเวียนใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- พัฒนาบุคลากรให้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการใช้น้ำ จัดอบรมให้ความรู้พนักงาน ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำทั้งภายในและภายนอกโรงงานอย่างสม่ำเสมอ ประชุมหาแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำ ติดตามผลการดำเนินงานด้านการใช้น้ำและจัดทำรายงานการการบริหารจัดการน้ำเป็นประจำทุกปี
- วางแผนบริหารจัดการน้ำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด2573
- วางแผนการบริหารจัดการน้ำ ให้เพียงพอต่อความต้องการ
- การควบคุมการใชน้ำในการผลิต
- ตรวจสอบมิเตอร์น้ำ วาล์วน้า ท่อน้า ทุกจุดไม่ให้รั่วไหล
- ประชุม/อบรมพนักงานให้ตระหนักถึงคุณค่าการใช้น้ำ
- ติดตามผลการดำเนินงานควบคุมการใชน้ำในแต่ละเดือน
โครงการดึงน้ำกลับมาใช้ใหม่
- บริหารจัดการน้ำให้มีการใช้น้ำอย่างเกดิประโยชน์สูงสุด
- บริหารจัดการน้ำโดยการพัฒนาบุคคลให้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการใช้น้ำ
- บริหารจัดการน้ำโดยการบำบัดน้ำทิ้งให้ได้คุณภาพ และหมุนเวียนน้ำกลบัมาใช้ใหม่
การจัดการขยะและของเสีย
ขยะและของเสียที่เกิดขึ้นจากดำเนินธุรกิจ เป็นภาระความรับผิชอบที่ TRUBB ต้องบริหารจัดการให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย ซึ่งขยะและของเสียที่เกิดขึ้นในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของ TRUBB จำแนกได้เป็น 3 ประเภท ที่ต้องมีการบริหารจัดการให้ถูกต้อง ก่อนนำออไปกำจัดนอกโรงงานดังนี้
- ขยะมีพิษ จากการผลิตน้ำยางข้นและสกิม ได้แก่ กากขี้แป้งยางพารา และ บรรจุภัณฑ์ของเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ
- ขยะไม่มีพิษ ได้แก่ ขยะในครัวเรือน
- น้ำเสียจากการผลิต ได้แก่ น้ำเสีย และกากตะกอนบ่อบำบัด
การจัดการขยะและของเสีย
วัตถุประสงค์
ลดปริมาณขยะและของเสียจากการดำเนินธุรกิจ นำทรัพยากรที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่ ลดผลกระทบเชิงลบจากขยะและของเสีย ที่อาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชนและสังคม
ลดปริมาณขยะและของเสียจากการดำเนินธุรกิจ นำทรัพยากรที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่ ลดผลกระทบเชิงลบจากขยะและของเสีย ที่อาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชนและสังคม
เป้าหมาย
2573 : ขยะฝังกลบเป็นศูนย์
2573 : ขยะฝังกลบเป็นศูนย์
แนวทางการดำเนินงาน
TRUBB ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณขยะแบบแยกประเภทโดยให้เจ้าหน้าบันทึกข้อมูลเป็นประจำทุกเดือนเพื่อเก็บบันทึกสถิติและนำมาใช้วิเคราะห์วางแผนกิจกรรมในการลดขยะเพื่อมุ่งสู่ Zero Waste To Landifill ต่อไป
โครงการทิ้งทูแทรช
ในปี 2566 TRUBB ไดเเข้าร่วมโครงการ ทิ้ง ทู แทรช จัดโดยสมาคมบริษัทจดทะเบียนและบริษัท คิดคิด จำกัด เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังจิตสำนึกในการจักการขยะให้แก่พนักงาน โดยเริ่มต้นจากการคัดแยกขยะและยึดตามหลักการจัดการขยะ 3Rs เพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด โดยขยะที่คัดแยกได้แล้วจะมีการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด
- รณรงค์ให้พนักงานตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากขยะ ของเสีย และ มลพิษ
- ยึดหลักการจัดขยะ 3 R (Reduce, Reuse, Recycle) เพื่อให้เกิดขยะและของเสียน้อย
- ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน่้อยที่สุด
- จัดการของเสียอันตรายตามที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่การจัดเก็บถายใน จนถึง การนำออกไปกำจัดภายนอกโรงงาน
- มีการติดตั้ง ควบคุม ตรวจสอบ ระบบการจัดการน้ำเสียสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยน้ำลงสู่สาณารณะ
- จัดทำรายงานการคัดแยกขยะแต่ละประเภท และการนำไปใช้ประโยชน์
ตารางกำจัดขยะและของเสียในแต่ละประเภท
รายการขยะ ของเสีย
|
การจัดการ
|
ขยะอันตรายที่ต้องกำจัดตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น | |
ขยะอันตรายที่เกิดจากการผลิตสินค้าประเภท กากขี้แป้งยางพารา และ กากตะกอนบ่อบำบัด |
|
ขยะอันตราย ประเภทบรรจุภัณฑ์สารเคมีต่าง ๆ |
|
ขยะไม่อันตราย
|
|
ขยะ Recycle ไม่ได้ |
|
ขยะ Recycle |
|
ขยะเศษอาหาร ขยะอืนทรีย์ ขยะเปียก |
|
TRUBB ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณขยะแบบแยกประเภทโดยให้เจ้าหน้าบันทึกข้อมูลเป็นประจำทุกเดือนเพื่อเก็บบันทึกสถิติและนำมาใช้วิเคราะห์วางแผนกิจกรรมในการลดขยะเพื่อมุ่งสู่ Zero Waste To Landifill ต่อไป
โครงการทิ้งทูแทรช
ในปี 2566 TRUBB ไดเเข้าร่วมโครงการ ทิ้ง ทู แทรช จัดโดยสมาคมบริษัทจดทะเบียนและบริษัท คิดคิด จำกัด เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังจิตสำนึกในการจักการขยะให้แก่พนักงาน โดยเริ่มต้นจากการคัดแยกขยะและยึดตามหลักการจัดการขยะ 3Rs เพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด โดยขยะที่คัดแยกได้แล้วจะมีการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด
การจัดการมลพิษทางอากาศ
ในกระบวนการผลิตน้ำยางข้นและยางสกิม การใช้ความร้อนและการผสมสารเคมีเป็นขั้นตอนที่อยู่ในขั้นตอนการผลิต ซึ่ง TRUBB ให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกสู่สาธารณะ และควบคุมกลิ่นของสารเคมีไม่ให้มีผลกระทบต่อชุมชนรอบโรงงานโดยมุ่งเน้นการจัดการควบคุมคุณภาพอากาศทั้งภายในและภายนอกโรงงาน ตลอดจนตรวจวัด ติดตามคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตสินค้า TRUBB ไม่มีมลพิษส่งผลกระทบต่อสังคม ตามที่กฎหมายกำหนด
แนวทางในการจัดการมลพิษทางอากาศ
แนวทางในการจัดการมลพิษทางอากาศ
- ใช้ถังดักกลิ่นแอมโมเนีย Ammonia Pack Tower เพื่อใช้ดักกลิ่นแอมโมเนียไม่ให้ส่งกลิ่นในส่วนของยางสกิมมีการใช้ระบบบำบัดกลิ่นแบบ Wet scrubber เพื่อลดกลิ่นจากกระบวนการอบยางสกิม
- ใช้ระบบ Wet scrubber เพื่อดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้ง PM 10 และ PM25 จากหม้อไอน้ำ (boilers) ก่อนระบายออกสู่อากาศ
- จัดการอาคารผลิตน้ำยางข้นและสกิมเป็นแบบระบบปิด เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวนออกสู่ภายนอกโรงงาน
- ติดตั้งเครื่องมือวัดทิศทางลม ตลอดจนดำเนินการติดตาม ตรวจวัดเป็นประจำปี
- มีการประเมินความเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ และกลิ่นรบกวน เพื่อดำเนินการป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับชุมชนโดยรอบโรงงาน
เป้าหมาย
- คุณภาพทางอากาศจากปล่องระบายผ่านค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศตามที่กฎหมายกำหนด
- ไม่มีข้อร้องเรียนด้านกลิ่นไม่พึงประสงค์จากชุมชนรอบโรงงาน
ผลการดำเนินงานปี 2566
- ได้คุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด
- ไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
กาารเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นตามธรรมชาติตลอดเวลาและในปัจจุบันสภาพภูมิอากาศมีความผันผวนมากขึ้นเกินกว่าจะคาดการณ์ได้ ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างยั่งยืนของมนุษย์และความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก ปัจจัยหลักมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีการใช้ทรัพยากรมากเกินไปจนทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติประกอบกับภาคการผลิตมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากทำให้โลกเสียสมดุล และร้อนขึ้นทุกปี เรื่องสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต้องให้ความร่วมมือโดยทางสหประชาาติได้กำหนดเป้าหมายร่วมกันในการควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซีสภายในปี 2573 โดยตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกในระดับสหประชาชาติ -45% และวางเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2593
ธุรกิจ TRUBB มียางพาราเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลกระทบเป็นอย่างมากจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง TRUBB จึงได้วางแผนการรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัว กรณีที่บริษัทฯได้รับผลกระทบดังกล่าว
ธุรกิจ TRUBB มียางพาราเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลกระทบเป็นอย่างมากจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง TRUBB จึงได้วางแผนการรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัว กรณีที่บริษัทฯได้รับผลกระทบดังกล่าว
- มีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่บยนแปลง โดยระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และมาตรการบรรเทาผลกระทบ
- มีการจัดการก๊าซเรือนกระจก จากการใช้พลังงานในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของ TRUBB ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานในการผลิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบจนถึงการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า การบริหารจัดการขยะเศษอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งของก๊าซเรือนกระจกเป็นต้น
การจัดการความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ในปี 2566 TRUBB ได้ระบุความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปล่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ และได้กำหนดมาตรการในการป้องกันผลกระทบ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมั่นใจว่า TRUBB มีความสามารถในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ โดย TRUBB ได้ระบุความเสี่ยงและมาตรการป้องกัน สรุปได้ดังนี้
ระบุความเสี่ยง | มาตราการป้องกัน |
ภัยแล้งที่มีผลกรทบต่อทรัพยากรน้ำขาดแคลน น้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ การขาดแคลนน้ำในกระบวนการผลิตอาจทำให้เกิดการหยุดชะงักขอกระบวนการผลิต มีผลผลิตไม่เพียงพอในการส่งมอบให้ลูกค้าตามสัญญา ทำให้ความน่าเชื่อถือในการธุรกิจลดลง การรับมือกับภัยแล้งอาจมีผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่ามีปริมาณน้ำเพียงพอรองรับการเดินเครื่องการผลิตรวมถึงโครงการต่าง ๆ ในอนาคต |
|
ภัยแล้งหรือฝนตกมากเกินไปมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำยางดิบ
ภัยแล้งทำให้น้ำยางดิบที่เกษตรกรกรีดได้มีปริมาณลดลง หรือฝนตกมากเกินไป ก็เป็นอุปสรรคในการกรีดยางได้น้อยเช่นกัน ซึ่งมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำยางดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดอบหลักที่จะนำมาผลิตน้ำยางข้น ส่งผลให้ TRUBB อาจไม่บรรลุเป้าหมายด้านการขาย |
|
ความต้องการผลิตภัณฑ์รักษ์โลกสูงขึ้น ตลาดต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นมีความต้องการสินค้าที่เป็นออร์เกนิกส์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ไม่ส่งเสริมการตัดไม้ทำลายป่า ส่งผลให้การบริหารจัดการของบริษัททีต้นทุนการผลิตที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น ตลาดต้องการสินค้าคาร์บอนต่ำ หรือไม่ปล่อยคาร์บอนเลย |
|
กิจกรรมการส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงาน
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ โครงการคัดแยกขยะ “ทิ้ง ทู แทรช”
TRUBB มีนโยบายในการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร ให้เป็นไปตามหลักสากล และหนึ่งในเรื่องที่สำคัญที่มีผลกระทบกับความยั่งยืน คือภาวะโลกร้อนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยสาเหตุหลักมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการดำเนินธุรกิจของทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ TRUBB ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวและได้กำหนดกลยุทธ์การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งขยะเป็นตัวแปรสำคัญอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เนื่องจากขยะที่เกิดขึ้นไม่มีการคัดแยกและปลายทางส่งไปที่หลุมฝังกลบทำให้เกิดแก๊สมีเทนที่เป็นหนึ่งในแก๊สเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโลก TRUBB ได้วางแผนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการขยะ และเข้าร่วมกับสมาคมบริษัทจดทะเบียนดำเนินงานภายใต้โครงการคัดแยกขยะ “ทิ้ง ทู แทรช” (Ting To Trash) โดยมีผู้เข้าร่วม ได้แก่ ผู้บริหาร และ พนักงาน (สำนักงานและโรงงาน) ที่ลงทะเบียนเข้าร่วม เพื่อกระตุ้น และปลูกฝังจิตสำนึก ในการจัดการขยะให้แก่พนักงาน โดยเริ่มต้นจากการคัดแยกขยะและยึดตามหลักการจัดการขยะ 3Rs เพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุดโดยขยะที่คัดแยกได้แล้วจะมีการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุดต่อไป
โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 3 ช่วง ตามเวลาที่ผู้เข้าอบรมสะดวก ดังนี้
- รุ่น 1 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30-11.30 น. จำนวน 91 คน
- รุ่น 2 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30-15.30 น. จำนวน 67 คน
- รุ่น 3 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30-11.30 น. จำนวน 28 คน
2. กิจกรรมอบรมโครงการรณรงค์ให้พนักงานมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า
TRUBB ตระหนักถึงปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งมีการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมุ่งเน้นให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมและสร้างวัฒนธรรมในการอนุรักษ์พลังงาน จึงได้มีการจัดอบรมให้ความรู้และติดป้ายประชาสัมพันธ์ในการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีผู้เข้าร่วม ได้แก่ พนักงานในดรงงานเพื่อสร้างความรู้และปลูกฝังจิตสำนึก ในการการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป