บริษัทของเรา

เกี่ยวกับเรา
          บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า“ THAITEX” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้นอื่น ๆ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2536 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีการซื้อขายหุ้นภายใต้ชื่อ TRUBB ซึ่ง THAITEX กลายเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับอย่างมากในอุตสาหกรรมน้ำยางข้นระดับโลก

ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ

          บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจภายใต้ปณิธานอันแน่วแน่ในด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อผลิตสินค้าที่รักษ์โลก ที่มีคุณภาพที่เหนือกว่ามาตรฐานสากลอันเป็นที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติ รวมถึงการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในด้านการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และให้สอดคล้องกับการพัฒนาของตลาดโลกอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์

          สินค้าเรา คือ ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก เรามอบสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุดให้แก่ลูกค้า เราสร้างความมั่งคั่งยั่งยืนให้แก่ผู้ถือหุ้น

พันธกิจ

1. ผลิตสินค้ารักษ์โลกที่มีคุณภาพเหนือกว่ามาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า
2. สร้างสรรค์สินค้าคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3. พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างคุณค่าการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
4. พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และมี ESG Mindset

ค่านิยม
T : Trustworthy (ความไว้วางใจ)
    มีความซื่อสัตย์  รักษาสัญญาและคำพูด  พูดจริงทำจริง  รับประกันการส่งสินค้าที่คุณภาพและตามเวลาที่กำหนด
: High Quality (คุณภาพดีเหนือกว่ามาตรฐาน)
     ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด  เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด
A : Accountability (ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลงาน)
     พนักงานรู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ ทำงานอย่างมีวินัย เอาใจใส่ในการทำงาน ส่งมอบงานได้ถูกต้องตามกำหนด กล้าเผชิญอุปสรรค เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย
I : Innovation (นวัตกรรม)
    ริเริ่มสิ่งใหม่ คิดนอกกรอบ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ  พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีความกล้าลองผิดลองถูก มีความอยากรู้ อยากลอง และมีความคิดสร้างสรรค์
T : Teamwork (การทำงานเป็นทีม)
    พนักงานมีความร่วมมือกันทุกหน่วยงาน ช่วยเหลือกันในทุกงานด้วยความเต็มใจ  ช่วยกันแก้ปัญหาโดยมีเป้าหมายเดียวกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและพร้อมนำไปแก้ไขปรับปรุง
E : ESG (การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน)
    ขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในส่วนงานที่รับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล ในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
X : Excellence (มุ่งสู่ความเป็นเลิศ)
    การมุ่งเน้นการปฏิบัติหน้าที่ให้มีมาตรฐานเป็นเลิศ เป็นผู้นำตลาด พัฒนาศักยภาพให้มีความพร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินและธุรกิจ

กลยุทธ์
 
1. มุ่งเน้น ESG : (Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Govermance (ธรรมาภิบาล) , BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ทั่วทั้งองค์กร เพื่อสร้างเสริมความยั่งยืน (Sustainability) ขององค์กร
2. เพิ่มยอดผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นผู้นำทางการตลาด
3. เพิ่มผลผลิตน้ำยางสด และพัฒนากระบวนการการทำงานภายใน
4. มุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมี่ยมต่าง ๆ
5. การใช้มรัพย์สินและทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่า
6. ลดต้นทุนและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ / โครงการ Best Practice และควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม
7. พัฒนาบุคลากร และสร้างเสริมควาามสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร

  • 2528

    บริษัทจดทะเบียนด้วยทุนชำระแล้ว 10 ล้านบาท ภายใต้ชื่อ "บริษัท โอเรียนท์รับเบอร์ลาเท็คซ์ จำกัด" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากน้ำยางธรรมชาติ เช่น น้ำยางข้น สกิมบล็อค และยางเครฟ ตั้งอยู่ที่ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี

  • 2532

    เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2532 บริษัท โอเรียนท์รับเบอร์ลาเท็คซ์ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (1988) จำกัด หรือ "THAITEX" เป็นกลุ่มผู้ผลิตน้ำยางข้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายน้ำยางข้น 60% DRC ทั้งในประเทศ และ นานาชาติ

  • 2533

    ต่อมา บริษัทฯ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และเข้าซื้อหุ้น บริษัท ไทยรับเบอร์แอนด์ลาเท็กซ์ จำกัด (จังหวัดระยอง) บริษัท เอ็กเซลรับเบอร์ จำกัด (จังหวัดสงขลา) และ บริษัท โอเรียนสุราษฎร์รับเบอร์ จำกัด (จังหวัดสุราษฎร์ธานี ) เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพของการผลิตน้ำยางข้น และสามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในภาคอุตสาหกรรมผู้ใช้น้ำยางข้น

  • 2536

    บริษัทฯ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2536 ภายใต้นโยบายการเติบโตอย่างมั่นคง และการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในธุรกิจ ที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจหลักของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • 2537

    บริษัทฯ ได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่เลขที่ 99 / 1-3 หมู่ 13 ซอย บางนา-ตราด 45 ถนนบางนา-ตราด กม. 7 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โดยนโยบายการขยายปริมาณ ด้านการผลิตน้ำยางข้น ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน และได้มีการจัดตั้งบริษัทใหม่อีกแห่งหนึ่งภายใต้ชื่อ "บริษัท ภูเก็ตลาเท็กซ์ จำกัด" ในจังหวัดพังงา

  • 2538

    บริษัทฯ มีการลงทุนในธุรกิจทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ โดยเข้าซื้อกิจการ บริษัท เวิลด์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดระยอง ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและส่งออกยางยืด (Rubber Thread) ไปยังตลาดต่างประเทศ และยังได้ลงทุนในบริษัทร่วม คือ บริษัท วังสมบูรณ์สวนยาง จำกัด ในจังหวัดสระแก้ว

  • 2547

    บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจในการทำสวนยางพารา และได้จัดตั้ง บริษัท ไทยรับเบอร์ซิตี้ จำกัด ในจังหวัดน่าน เชียงรายและพะเยา ต่อมา บริษัท ไทยรับเบอร์ซิตี้ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยรับเบอร์ แลนด์ แอนด์ แพลนเตชั่น จำกัด และดำเนินกิจการสวนยางอย่างมีประสิทธิภาพ

  • 2548

    เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 บริษัทย่อยทั้ง 7 แห่ง มารวมกืจการ เพื่อผลิตน้ำยางข้น ภายใต้ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด 

  • 2550

    THAITEX เข้าลงทุนโดยการเข้าถือหุ้น 56% ของ บริษัท เลเท็กซ์ ซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจผลิตและจำหน่ายที่นอนและหมอนยางพาราธรรมชาติทั้งในและต่างประเทศ

  • 2552

    บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด เข้าซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (เซี่ยงไฮ้) ซึ่งเป็น บริษัทย่อยอีกแห่งในประเทศจีน เพื่อดำเนินธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท

  • 2560

    บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด ถูกโอนหุ้นและทรัพย์สินทั้งหมด ไปยัง บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ซึ่งเป็นบริษัทแม่) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2560

  • 2562

    เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

  • 2564

    มื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัท ไทยรับเบอร์โกลฟส์ จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยางธรรมชาติทั้งในและต่างประเทศ  


ปัจจุบันบริษัท ไทยรับเบอร์ฯ มีโรงงานผลิตน้ำยางข้นจำนวน 5 แห่ง ทั่วประเทศไทยทั้งภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคเหนือ

นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล
ประธานกรรมการบริษัท / กรรมการกำหนดค่าตอบแทน /
  กรรมการบริหารความเสี่ยง / 
ประธานกรรมการบริหาร

นายไพบูลย์ วรประทีป
รองประธานกรรมการบริษัท / กรรมการกำหนดค่าตอบแทน/
 กรรมการบริหารความเสี่ยง

นายภัทรพล วงศาสุทธิกุล
กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ /
กรรมการบริหารความเสี่ยง / 
กรรมการบริหาร 

นางสุชาดา โสตถิภาพกุล
กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง

นายยรรยง ถาวโรฤทธิ์
กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ

นายสุรพล ขวัญใจธัญญา
กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน /
กรรมการตรวจสอบ 

นางสาวฉลองขวัญ วงศาสุทธิกุล
กรรมการและเลขานุการบริษัท / กรรมการบริหาร /
กรรมการผู้จัดการสายวางแผนและบริหารทรัพยากร

นายประวิทย์ วรประทีป
กรรมการบริษัท / กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง /
กรรมการบริหาร /กรรมการผู้จัดการสายตรวจสอบภายในและกำกับกิจการ

ดร.พสิษฐ์พล เต็มฤทธิกุลชัย
กรรมการบริษัท

ผศ.ดร. สมภพ ระงับทุกข์
กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ

นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์
กรรมการบริษัท / กรรมการกำหนดค่าตอบแทน
 
          หน้าที่ประธานกรรมการบริษัท
          ประธานกรรมการบริษัทมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลกิจการของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม หน้าที่หลักๆ ของประธานกรรมการบริษัท ประกอบด้วย
 
1. กำกับดูแลการทำงานของคณะกรรมการบริษัท
  • ดูแลให้คณะกรรมการบริษัททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม
  • ตรวจสอบให้คณะกรรมการบริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  • ส่งเสริมให้คณะกรรมการบริษัทมีการประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
2. เป็นผู้นำของคณะกรรมการบริษัท
  • กำหนดทิศทางและกลยุทธ์ของบริษัท
  • กำกับดูแลการทำงานของคณะกรรมการบริหาร
  • เป็นตัวแทนของคณะกรรมการบริษัทในการติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย
3. กำหนดโครงสร้าง ขนาด จำนวน ของคณะกรรมการ
  • กำหนดให้มีคณะกรรมการบริษัทที่มีขนาดเหมาะสมและมีความสมดุลระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการอิสระ
  • แต่งตั้งกรรมการอิสระให้มีคุณสมบัติเหมาะสม
  • กำหนดให้มีคณะกรรมการชุดย่อยตามความจำเป็น
4. เรียกประชุมคณะกรรมการบริษัท
  • เป็นประธานในการประชุม
  • กำหนดวาระการประชุม
  • ควบคุมการประชุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เป็นประธานในการประชุมผู้ถือหุ้น
  • เป็นประธานในการประชุม
  • กำหนดวาระการประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริษัท
  • ควบคุมการประชุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6. จัดให้มีช่องทางในการติดต่อ สื่อสาร
  • จัดให้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และผู้ถือหุ้น
  • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริษัท
7. จัดให้คณะกรรมการบริษัท ได้รับข้อมูล
  • จัดให้คณะกรรมการบริษัทได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ตรงเวลา และครบถ้วนสำหรับการประชุม
  • เปิดโอกาสให้คณะกรรมการบริษัทซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้รับ
8. ลงคะแนนเสียงชี้ขาดในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเท่ากัน
9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายหรือข้อบังคับบริษัทกำหนด
 
 
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
          บริษัทได้จัดทำระเบียบข้อบังคับการทำงานและอำนาจดำเนินการไว้เป็นกรอบการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ด้วย ดังนี้
  1. พิจารณากำหนดเป้าหมาย นโยบาย แผนงานและการจัดสรรงบประมาณประจำปีตามที่ฝ่ายจัดการเสนอ ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ให้รวมถึงการพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมงบประมาณรายจ่ายประจำปีในระหว่างที่ไม่มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทและให้นำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบในที่ประชุมคราวถัดไป
  2. ให้ผู้บริหารงานฝ่ายต่างๆ ที่รับผิดชอบต่อการดำเนินงานในกิจการต่างๆ รายงานผลงานให้คณะกรรมการบริหารทราบทุกเดือน
  3. อนุมัติการใช้จ่ายเงินตามระเบียบบริษัทที่กำหนดไว้
  4. อนุมัติการใช้จ่ายเงินลงทุนที่ได้กำหนดไว้ในงบประมาณประจำปี หรือที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติไว้ในงบประมาณประจำปี หรือที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติไว้ในหลักการแล้ว
  5. อนุมัติในหลักการการลงทุนในการขยายธุรกิจ ตลอดจนการร่วมทุนกับผู้ประกอบกิจการอื่นและให้นำเสนอคณะกรรมการบริษัท เพื่ออนุมัติในที่ประชุมคราวถัดไป
  6. อนุมัติการแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามในเช็คหรือเอกสารสั่งจ่ายเงินของบริษัท
  7. เป็นคณะที่ปรึกษาฝ่ายจัดการในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายด้านการผลิต การตลาด การเงิน การบริหารบุคคลและด้านการปฏิบัติการอื่นๆ
  8. กำกับดูแลเรื่องการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร และการบริหารจัดการผลกระทบ  ความเสี่ยงหรือโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  9. อนุมัติการแต่งตั้งโยกย้าย และเลิกจ้างพนักงาน
  10. ดำเนินการใดๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
 
บทบาทหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการใหญ่
  1. การกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ แผนธุรกิจ และงบประมาณประจำปีของบริษัทฯ และบริษัทย่อย เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัทฯเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
  2. การดูแล บริหาร ดำเนินงาน และปฏิบัติงานประจำตามปกติธุรกิจเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ นโยบาย กลยุทธ์ทางธุรกิจ เป้าหมาย แผนการดำเนินงาน และแผนงบประมาณประจำปีที่อนุมัติ โดยคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัทฯ
  3. การประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้การดำเนินการทางธุรกิจ รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงของบริษัทเป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทฯ ตลอดจนมติคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  4. การอนุมัติการเข้าทำสัญญาและ/หรือธุรกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัทฯ (เช่น การซื้อขาย การลงทุนหรือร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเพื่อการทำธุรกรรมตามปกติของบริษัทฯ และเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ) ภายในเงื่อนไขและวงเงินตามที่กำหนดไว้ในอำนาจอนุมัติและดำเนินการ (Delegation of Authority) และ/หรือ ตามที่คณะกรรมการบริหาร และ/หรือคณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด และ/หรือ ตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือ ตามข้อบังคับของบริษัทฯ
  5. การอนุมัติการกู้ยืมเงินสินเชื่อใดๆ อนุมัติการกู้ยืมเงิน และการขอสินเชื่อใด ๆ จากสถาบันการเงิน การให้กู้ยืม ตลอดจนการจำนำ จำนอง หรือเข้าเป็นผู้ค้ำประกันของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ภายในเงื่อนไขและวงเงินตามที่กำหนดไว้ในอำนาจอนุมัติและดำเนินการ (Delegation of Authority) หรือตามที่คณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด
  6. การติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมผลการดำเนินงานของบริษัทฯ บริษัทย่อย และ/หรือ บริษัทร่วม เพื่อให้มีผลประกอบการที่ดีตามเป้าหมาย และรายงานต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัทฯ ทุกไตรมาส รวมถึงหาโอกาสปรับปรุงและพัฒนาให้มีผลประกอบการที่ดีขึ้น
  7. พัฒนาองค์กรให้มีผลการดำเนินงานและผลประกอบการที่ดี และมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน
  8. การจัดการการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ดำเนินการให้มีการศึกษาโอกาสในการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ที่ดี โดยทำการศึกษาทางด้านเทคนิคและด้านการเงินอย่างเหมาะสมและครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจ
  9. การบริหารจัดการการพัฒนาความยั่งยืนองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ  รวมถึง การบริหารจัดการผลกระทบ  ความเสี่ยงหรือโอกาส  จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  10. การจัดการซึ่งรายการสินทรัพย์ ดำเนินการเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและรายการได้มาจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ รวมตลอดจนระเบียบบริษัทฯ ซึ่งได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศที่เกี่ยวข้องกำหนด
  11. การพิจารณาหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้บริหาร พิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงร่วมกับคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
  12. การแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ภายในเงื่อนไขและวงเงินตามที่กำหนดไว้ในอำนาจอนุมัติและดำเนินการ (Delegation of Authority) และ/หรือ ตามที่คณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด
  13. กำหนดกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ ข้อกำหนด สำหรับโครงสร้างองค์กรในตำแหน่งถัดลงไปจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมถึงการว่าจ้าง แต่งตั้ง โยกย้าย ปลดออก และเลิกจ้างพนักงานบริษัทฯ ในตำแหน่งที่ต่ำกว่ากรรมการผู้จัดการใหญ่
  14. การกำหนดนโยบาย โครงสร้างค่าตอบแทน รูปแบบและหลักเณฑ์ในการจ่ายค่าตอบแทนของพนักงานร่วมกับคณะกรรมการบริหาร และเสนอคณะกรรมการพิจารณาและกำหนดค่าตอบแทนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
  15. การพิจารณาค่าตอบแทนพนักงานตามนโยบายโครงสร้างค่าตอบแทนที่คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติ และเสนอคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
  16. การออกคำสั่ง ระเบียบ ประกาศ และบันทึกต่าง ๆ ภายในบริษัทฯ เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นไปตามนโยบาย และเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ รวมถึงรักษาระเบียบวินัยภายในองค์กรมอบอำนาจ และ/หรือ มอบอำนาจช่วงให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดในนามของกรรมการผู้จัดการใหญ่ ภายใต้ขอบเขตอำนาจที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจของบริษัทฯ และ/หรือ ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือมติของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ การมอบอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการผู้จัดการใหญ่นั้นจะไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจหรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้จัดการใหญ่สามารถอนุมัติรายการที่ตน หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน) อาจมีส่วนได้เสีย หรืออาจได้รับประโยชน์ในลักษณะใด ๆ หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติไว้
  17. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการใด ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว



 
 
 

บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

 

     
   สำนักงานใหญ่ :  เลขที่ 99/1-3 หมู่ที่ 13 ถนนบางนา-ตราด กม.ที่ 7  ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี
   จังหวัดสมุทรปราการ 10540

   โทรศัพท์ : +66 2033 2333 (อัตโนมัติ) 
   โทรสาร : +66 2033 2389-99
   อีเมล์ : [email protected]
   

 โรงงานผลิตน้ำยางข้นจำนวน 5 แห่ง



1.  โรงงานชลบุรี


ที่อยู่ : เลขที่ 29 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองใหญ่ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี 20190
โทรศัพท์ : +66 3816 8529-34, +668 3992 1265
โทรสาร : +66 3816 8529-34 ต่อ 105
อีเมล์ : [email protected]

2.  โรงงานระยอง

ที่อยู่ : เลขที่ 44/5 หมู่ที่ 8 ตำบลกะเฉด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21100
โทรศัพท์ : +66 38 634105, +668 8526 1616
โทรสาร : +66 38 634106
อีเมล์[email protected]

3.  โรงงานหาดใหญ่

ที่อยู่ : เลขที่ 124 หมู่บ้านบ้านคลองปอม หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90250
โทรศัพท์ : +66 7429 1171-4, +66 7429 1178
โทรสาร : +66 7429 1175
อีเมล์ [email protected]

4.  โรงงานสุราษฎร์ธานี

ที่อยู่ : เลขที่ 293/2 หมู่ที่ 1 ถนนสุราษฎร์-นาสาร ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100
โทรศัพท์ : +66 7735 5339, +668 6475 7836-37
โทรสาร : +66 7735 5769
อีเมล์ [email protected]

5.  โรงงานเชียงราย

ที่อยู่ :  เลขที่ 198 หมู่ที่ 7 ตำบลจอมสวรรค์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 57110
โทรศัพท์ : +66 5316 0720, +66 5316 0730
โทรสาร : +66 5316 0720, +66 5316 0730
อีเมล์ [email protected]

 

บริษัทในเครือ


 

1.  บริษัท เวิลด์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) 

::World Flex::Rubber Thread
 
ที่อยู่ : เลขที่ 1/7อาคารบางนาธานี ชั้น3 ห้อง3B ซอยบางนา-ตราด 34 แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทรศัพท์ : +66 2398 7188, +66 2398 7189
โทรสาร : +66 2398 7187
เว็บไซต์ : www.worldflex.net
 

2.  บริษัท ไทยรับเบอร์แลนด์ แอนด์ แพลนเตชั่น จำกัด

ที่อยู่ : เลขที่ 561 หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านดู่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 57110
โทรศัพท์ : +66 5210 0979
โทรสาร : +66 5202 3778
เว๊ปไซต์ : -

3.  บริษัท ไทยรับเบอร์โกลฟส์ จำกัด

ที่อยู่ : เลขที่ 1/7 อาคารบางนาธานี ชั้น3 ห้อง3B ซอยบางนา-ตราด 34 แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทรศัพท์ : +66 2398 7188, +66 2398 7189
โทรสาร : +66 2398 7187
เว๊ปไซต์ : https://www.thairubbergloves.com/

4.  บริษัท ไทยรับเบอร์ เอช พี เอ็น อาร์ จำกัด 

ที่อยู่ :  เลขที่ 99/1-3 หมู่ที่ 13 ถนนบางนา-ตราด กม.ที่ 7  ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : +66 2033 2333
โทรสาร : +66 2033 2391, +66 2033 2392
เว๊ปไซต์ : -

5.  บริษัทไทยเท็คซ์ ซีบีดี สมาร์ท ฟาร์ม จำกัด 

ที่อยู่ :  เลขที่ 99/1-3 หมู่ที่ 13 ถนนบางนา-ตราด กม.ที่ 7  ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : +66 2033 2333
โทรสาร : +66 2033 2391, +66 2033 2392
เว๊ปไซต์ : -

 

เมื่อวันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น.ประชุมความคืบหน้าความพร้อมในการดำเนินงานด้าน EUDR  
ประชุมความคืบหน้าความพร้อมในการดำเนินงานด้าน EUDR
          เมื่อวันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น. สมาคมยางพาราไทยนำโดยนายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล นายกสมาคมฯ นายไชยยศ สินเจริญกุล นายกิตติมศักดิ์ นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล พร้อมคณะกรรมการ สมาชิก และผู้จัดการสมาคม ฯ เข้าร่วมประชุมแจ้งความคืบหน้าความพร้อมในการดำเนินงานด้าน EUDR ของสินค้ายางพาราแก่ผู้ประกอบการยางพารา โดยมี ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานคณะกรรมการยางแห่งประเทศไทยเป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการ กยท. ณ ห้องประชุมสถลสถานพิทักษ์ 2 การยางแห่งประเทศไทย บางขุนนนท์ กรุงเทพ ฯ  
ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU)เพื่อความร่วมมือทางด้านธุรกิจ
          เมื่อวันที่ (16 ส.ค. 2567) ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อความร่วมมือทางด้านธุรกิจ ระหว่าง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดย นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยและ และบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยนายภัทรพล วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งถือเป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่เข้ามาทำการซื้อขายน้ำยางสด EUDR หรือ EU Deforestation Regulation ของสหภาพยุโรป  
 
TRUBB ( โรงงานหาดใหญ่ เดินหน้าลุ่ย EUDR)
          เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โรงงานหาดใหญ่ ได้รวมกำลังเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่จุดรับซื้อและสวนยางพาราเพื่อขับเคลื่อนโครงการน้ำยาง EUDR เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เกษตรชาวสวนยางเข้าร่วมโครงการน้ำยาง EUDR เตรียมพร้อมตั้งรับกฎเกณฑ์ EU Deforestation-free Regulations (EUDR) ที่จะมีผลบังคับใช้ต้นปี 2568  
          เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ตลาดกลางยางพาราแห่งประเทศไทยเปิดประมูลน้ำยางเป็นครั้งแรก และ บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป  ประเดิมการซื้อน้ำยางสดที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาพร้อมเดินเครื่องผลิต สินค้าตามเงื่อนไขกฏหมายปลอดจากกาารตัดไม้ทำลายป่า ของสหภาพยุโรป ที่จะมีผลทางปฏิบัติในวันที่ 30 ธันวาคม 2567