นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนโดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตามหลักบรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณบริษัทฯพร้อมทั้งมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ตามกฎหมายและหลักสากลอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้มีการกระทำใดๆ ที่จะก่อให้เกิดการละเมิดหรือสร้างผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ คณะกรรมการบริหารจึงเห็นสมควรให้กำหนดนโยบายด้านสิทธิมุษยชนไว้ดังนี้
- คณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานบริษัทฯ ให้ความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบหลักปฏิบัติ ปฏิญญาสากล สนธิสัญญา และมาตรฐานแรงงานสากล ที่เกี่ยวข้องและให้การปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งของประเทศไทยและระหว่างประเทศ
- นำหลักการในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights :UDHR), หลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations GuidingPrinciples on Business and Human Rights: UNGP), ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization Declaration onFundamental Principles and Rights at Work) มาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจในด้านสิทธิมนุษยชน
- ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่ธุรกิจตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
- สนับสนุนให้มีการสื่อสาร เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน และนโยบายสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัทฯ
- กำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแล ติดตามตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกำหนดแนวทางหรือมาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยง และจัดให้มีกระบวนการบรรเทา หรือเยียวยาผลกระทบที่เหมาะสมในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- เปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียสามารถแสดงความคิดเห็น แจ้งเบาะแส ปัญหา หรือ ข้อร้องเรียน หากมีการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทฯจะให้ความเป็นธรรมและปกป้องผู้รายงานเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- กำหนดให้มีคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและพิจารณาความผิดกับบุคคลที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน และจะถูกลงโทษตามกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯหากตรวจสอบอย่างครบถ้วนแล้วว่าเป็นผู้กระทำความผิด และในกรณีที่การกระทำดังกล่าวเป็นการเรื่องที่ผิดกฎหมายก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
- กำหนดให้มีการรักษามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
- กำหนดให้มีการรายงานผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านทางรายงานการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน รายงานความยั่งยืน และเว็บไซต์การพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทฯ
กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ ได้จัดทำกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยอ้างอิงตามแนวทางของ UN Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGP) เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
การกำหนดขอบเขตการตรวจสอบ
บริษัทฯ กำหนดขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การปฏิบัติงาน, การจัดหาวัตถุดิบ, การขนส่ง, การบริหารลูกค้า และ การสร้างผลกระทบต่อชุมชน ดังนี้
• สิทธิแรงงานต่อพนักงาน
• สิทธิด้านชุมชนรอบกิจการ
• สิทธิลูกค้า
การระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
บริษัทฯ ทบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งกิจกรรมทางตรงที่บริษัทฯ ดำเนินการเอง และทางอ้อมผ่านการดำเนินการของคู่ค้า ผู้รับเหมา หรือบริษัทร่วมค้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงทบทวนแนวโน้มประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันในตลาดโลก แล้วนำมาจัดเป็นกลุ่มหัวข้อที่ใกล้เคียงกันเพื่อจัดทำและปรับปรุงรายการตรวจสอบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และมอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมระบุและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน โดยแบ่งได้ตามหัวข้อดังนี้
• การเลือกปฏิบัติ
• สุขภาพและความปลอดภัย
• มาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิตของชุมชน
• การเข้าถึงน้ำ และสุขาภิบาล
• การได้มาซึ่งที่ดิน
• ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
• สภาพการจ้างงาน
• เสรีภาพในการสมาคมและเจรจาต่อรอง
• การจ้างแรงงานที่ผิดกฏหมาย (แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานข้ามชาติ)
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ นำประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ระบุจากการใช้รายการตรวจสอบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ มาประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยใช้เมทริกซ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment Matrix) ซึ่งพิจารณาเกณฑ์ระดับผลกระทบ และเกณฑ์ระดับโอกาสที่จะเกิดขึ้น ของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนแต่ละประเด็น โดยระดับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจากการประเมินแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ระดับความเสี่ยงต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก
การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ กำหนดตัวชี้วัดเพื่อติดตามและทบทวนมาตรการลดและควบคุมผลกระทบเชิงลบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในทุกประเด็นที่ได้ดำเนินการแล้ว เช่น จำนวนข้อร้องเรียนที่ได้รับและสถานการณ์แก้ไข เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนแต่ละประเด็นได้ถูกแก้ไขและป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เนื่องจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ตามการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้นบริษัทฯ จะดำเนินการทบทวนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การระบุและประเมินความความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และมาตรการบรรเทาและป้องกันผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงจัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียนสำหรับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ในกรณีที่มีเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อนำมาทบทวนปรับปรุงแก้ไขและสร้างความมั่นใจในประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอยู่เสมอ
จากผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในปี 2566 พบว่า บริษัทไม่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และจะดำเนินการทบทวนวิธี/แนวทางในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่มเติมในปี 2567
การปฎิบัติต่อพนักงานและแรงงาน
บริษัทฯ ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนด้วยความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และเสรีภาพของบุคคล และไม่แบ่งแยกความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ชนชั้น ความพิการ สถานภาพการสมรส สถานภาพทางกายภาพและสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางสังคม การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง และอื่นๆ ตามหลักการพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งต้องปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด
ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
บริษัท ให้ความสำคัญกับการตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ติดต่อสื่อสารให้บริการอย่างใกล้ชิด เพิ่อเข้าในลูกค้าในกลุ่มต่างๆ พร้อมปรับตัวเพื่อผลิตสินค้าที่ทันสมัย ตามความต้องการตลาด คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ นำเสนอขายเพื่อเพิ่มศักยภาพสินค้าของบริษัทฯ บริหารความพึงพอใจของลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทฯ
แนวทางการดำเนินงาน
- ยึดมั่น ในการดำเนินงานส่งมอบสินค้าด้วยความซื่อตรงโปร่งใส ปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายด้วยความเท่าเทียมกัน
- ผลิตส่งมอบ และให้บริการด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานตรงตามความต้องการหรือสูงกว่าความคาดหมายของลูกค้าในราคาที่เป็นธรรม
- เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า และบริการ ไม่นำเสนอข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด อันเป็นเหตุให้ลูกค้าสับสน หรือรับข้อมูลที่ผดเกี่ยวคุณภาพ ปริมาณ หรือเงื่่อนไขใดๆ ของสินค้า หรือบริการนั้นๆ
- จัดให้มีหน่วยงาน ระบบ หรือกระบวนการปฏิบัติงานในการรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น หรือข้อร้องเรียบเกี่ยวกับตัวสินค้า หรือการบริการอื่นๆ โดยบริษัทฯ จะนำเรื่องราวดังกล่าวไปพิจารณาปรับปรุง และดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วภายในเวลาที่สมควร
- รักษาความลับของลูกค้า โดยไม่นำไปเผยแพร่หรือใช้เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ หรือบุคคลอื่นโดยมิชอบ
- สร้างความสัมพันธ์อันดี และแสวงหาแนวทางที่่จะเพิ่มประโยชน์ให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
แผนบริหารและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้จัดทำแผนการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้มีการแสดงผลความพึงพอใจในด้านคุณภาพสินค้า บริการของบุคลาการบริษัท และกระบวนการจัดส่งสินค้า
1. ด้านคุณภาพสินค้า
- โรงงานผลิตสินค้าตรงตามข้อกำหนดของบริษัทและของลูกค้า
- มีการทบทวนข้อกำหนดของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ
- มีขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพสินค้าตรงตามข้อกำหนด ก่อนจัดส่งลูกค้าทุกครั้ง
- มีการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยทีมงานฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D)
2. การบริการและคุณภาพของบุคลากรบริษัท
การให้บริการเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อคุณภาพของการบริการ เพราะผู้ให้บริการมีปฏิสัมพันธ์ต่อผู้รับบริการโดยตรง ดังนั้น ควรให้ความสำคัญในการบริหารบุคลากรให้เป็นผู้ที่มีลักษณะที่เหมาะสมในการให้บริการ ดังนี้
การให้บริการเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อคุณภาพของการบริการ เพราะผู้ให้บริการมีปฏิสัมพันธ์ต่อผู้รับบริการโดยตรง ดังนั้น ควรให้ความสำคัญในการบริหารบุคลากรให้เป็นผู้ที่มีลักษณะที่เหมาะสมในการให้บริการ ดังนี้
-
ด้านบุคลิกภาพ แต่งกายเรียบร้อย มีความสุภาพ และมารยาท ยกย่องให้เกียรติลูกค้า
-
จัดอบรมพนักงาน เพื่อพัฒนาความรู้ในเรื่องของคุณภาพสินค้า และเทคนิคในการขายเพื่อเสริมสร้างทักษะของพนักงานให้เกิดความก้าวหน้า
-
มีการให้ข้อมูลด้านการตลาด สถานการณ์ยาง ราคา กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
-
ให้คำปรึกษาเบื้องต้นทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการใช้สินค้า ในกรณีที่ลูกค้าพบปัญหา
-
มีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกันการใช้งาน
3. กระบวนการจัดส่งสินค้า
- อบรมพนักงานส่งของให้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และพูดจาอย่างสุภาพกับลูกค้า
- ยืนยันตารางการจัดส่งสินค้ากับลูกค้า ก่อนทำการส่งสินค้า
- ตรวจสอบสินค้า และเอกสารให้ถูกต้อง ก่อนการจัดส่งสินค้า
- จัดส่งสินค้าให้ตรงต่อเวลา
- มีการจัดตารางงานและการเตรียมความพร้อมของรถขนส่ง
- เตรียมรถบริการขนส่งให้เพียงพอต่อความต้องการขนส่งในแต่ละรอบ
4. การบริหารการจัดการข้อร้องเรียน
- เมื่อได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้า ฝ่ายการตลาดและขาย ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น
- ทำใบคำร้องเรียนลูกค้า โดยระบุรายละเอียดต่างๆ
- ส่งใบคำร้องเรียนลูกค้าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการหาสาเหตุของปัญหาดังกล่าว รวมถึงการป้องกันการเกิดซ้ำของปัญหา ระบุในใบคำร้องเรียนลูกค้า
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งใบคำร้องเรียนลูกค้า กลับให้ฝ่ายการตลาดและขายให้เสร็จสิ้นภายใน 5 วันทำการ
- ฝ่ายการตลาดและขาย ดำเนินการแจ้งกลับให้ลูกค้ารับทราบภายในทันที
เพื่อเฝ้าติดตามและวัดผลความพึงพอใจของลูกค้า บริษัทได้จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปี และมีการกำหนดเกณฑ์เป้าหมายความพึงพอใจในแต่ละปี
ทั้งนี้บริษัทมีการสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงสินค้าและบริการของบริษัทและสร้างความพึงพอใจใหักับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
สรุปแบบสำรวจความพึงพอใจประจำปี 2564, 2565, 2566
ลูกค้าในประเทศ
ลูกค้าต่างประเทศ
ทั้งนี้บริษัทมีการสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงสินค้าและบริการของบริษัทและสร้างความพึงพอใจใหักับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
สรุปแบบสำรวจความพึงพอใจประจำปี 2564, 2565, 2566
ลูกค้าในประเทศ
ปีที่สำรวจ | เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
2564 | 80% | 90% |
2565 | 80% | 88% |
2566 | 80% | 91% |
ปีที่สำรวจ | เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
2564 | 90% | 91% |
2565 | 90% | 90% |
2566 | 90% | 90% |
ความรับผิดชอบต่อสังคม