การกำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะกรรมการบริษัทปฏิบัติงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Code – CG Code) และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปรับใช้ CG Code ในทุกระดับขององค์กร คณะกรรมการบริษัทมีความมุ่งมั่นและเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใสมีประสิทธิผลจะส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานของบริษัท และเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการบริษัทมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และนโยบายหลักของบริษัท คณะกรรมการยังทำหน้าที่ติดตามให้มีการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทจะมีการรายงานผลการดำเนินการทุกครั้ง เพื่อติดตามให้บรรลุเป้าหมายคณะกรรมการบริษัท ได้มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น คณะกรรมการชุดย่อยซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหาร 

โดยคณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารเป็นผู้ติดตาม ดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอกับการดำเนินธุรกิจและบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายตามแผนงาน นอกจากนี้คณะกรรมการชุดย่อยคือ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ดูแลความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ดูแลระบบควบคุมความเสี่ยงในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของบริษัท คณะกรรมการมีการทบทวนโครงสร้างของฝ่ายบริหารว่ามีความชัดเจนและมีทรัพยากรเพียงพอที่จะปฏิบัติงานต่างๆ ตามหน้าที่ให้ได้ผลดี และมีติดตามผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ทุกครั้งที่มีการประชุมคณะกรรมการ

1. นโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการ
          คณะกรรมการบริษัทปฏิบัติงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน Corporate Governance Code – CG Code และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปรับใช้ CG Code ในทุกระดับขององค์กร คณะกรรมการบริษัทมีความมุ่งมั่นและเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส มีประสิทธิผลที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบริษัท และเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์กลยุทธ์และนโยบายหลักของบริษัท คณะกรรมการยังทำหน้าที่ติดตามให้มีการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทจะมีการรายงานผลการดำเนินการทุกครั้งเพื่อติดตามให้บรรลุเป้าหมาย คณะกรรมการบริษัทได้มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น คณะกรรมการชุดย่อย ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหาร โดยคณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารเป็นผู้ติดตาม ดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอกับการดำเนินธุรกิจและบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายตามแผนงาน นอกจากนี้คณะกรรมการชุดย่อย คือ คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ดูแลความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ดูแลระบบควบคุมความเสี่ยงในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของบริษัท คณะกรรมการมีการทบทวนโครงสร้างของฝ่ายบริหารว่ามีความชัดเจนและมีทรัพยากรเพียงพอที่จะปฏิบัติงานต่างๆ ตามหน้าที่ให้ได้ผลดีและติดตามผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ทุกครั้งที่มีการประชุมคณะกรรมการ 

2. นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ
          บริษัทสรรหากรรมการโดยยึดตามพระราชบัญญัติ บริษัท มหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยึดหลักปฏิบัติของ CG Code ที่ให้คณะกรรมการได้พิจารณาโครงสร้างคณะกรรมการให้มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ทั้งทักษะ จำนวน ความสามารถและประสบการณ์ บริษัทมีกรรมการอิสระที่มีจำนวนและคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ทั้งนี้กรรมการอิสระมีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัทมีการกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทไว้อย่างเป็นทางการล่วงหน้าตลอดปีไตรมาสละ 1 ครั้ง และมีการประชุมพิเศษเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระไว้อย่างชัดเจนและมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ โดยเลขานุการบริษัทจะจัดทำหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการประชุมส่งให้กรรมการแต่ละท่านล่วงหน้าก่อนการประชุมเป็นเวลา 7 วันเพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท กรรมการสามารถเสนอความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ มีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองแล้วจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ โดยปกติการประชุมแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ บริษัทมีเลขานุการบริษัทและที่ปรึกษาทางกฎหมายทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฎหมายและเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ

3. นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย
     บริษัทยึดแนวปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG Code) หมวดสิทธิของผู้ถือหุ้น และหมวดการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

     3.1 สิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้ง การประชุมเช่นว่านี้ให้เรียกว่า “ประชุมสามัญ” การประชุมสามัญดังกล่าวให้กระทำภายในสี่เดือนภายหลังการสิ้นสุดรอบปีทางการบัญชีของบริษัทฯ การประชุมผู้ถือหุ้นคราวอื่นๆ ให้เรียกว่า “ประชุมวิสามัญ” โดยบริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนในการดูแลกิจการและให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการ ดังนี้
     1) การจัดประชุม สถานที่ประชุม บริษัทฯ จะจัดขึ้น ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท หรือ จังหวัดใกล้เคียง หรือ ณ ที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการจะกำหนด และได้อำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกราย โดยจัดสถานที่ประชุมที่สามารถเดินทางได้สะดวก
     2) บริษัทฯ จะจัดส่งหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระเบียบวาระและความเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ พร้อมทั้งเอกสารข้อมูลประกอบการประชุม รายงานประจำปีงบการเงิน รายการเอกสารที่ผู้เข้าประชุมต้องนำมาเพื่อใช้แสดงตัว และหนังสือมอบฉันทะ ทั้งนี้ เอกสารประกอบการประชุมที่นำส่งให้กับผู้ถือหุ้นพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมนั้นจะมีข้อมูลครบถ้วนเพราะผู้ถือหุ้นใช้ประกอบการตัดสินใจลงคะแนนในวาระต่างๆ และบริษัทได้เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ถือหุ้น โดยให้กรรมการอิสระเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นในกรณีที่ผู้ถือหุ้น ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ต่อตลาดหลักทรัพย์ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการประชุม และดำเนินการให้มีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ อย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นตามสมควร โดยมอบหมายให้บริษัท ศูนย์รับฝาก หลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (นายทะเบียนหลักทรัพย์) ทำหน้าที่นายทะเบียนของบริษัทฯ ในการส่งเอกสาร รวมถึง สารสนเทศต่างๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้นบริษัทฯ
     3) แจ้งวิธีการลงคะแนนและนับคะแนนก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น และการใช้บัตรลงคะแนนเสียง โดยผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง บริษัทฯ จัดให้มีการลงมติวาระเพื่อพิจารณาเป็นรายวาระ และลงมติ เป็นแต่ละรายการในกรณีที่ในวาระนั้นมีหลายรายการ เช่น วาระการแต่งตั้งกรรมการ การออกเสียงลงมติใด ๆ หรือ การอนุมัติกิจการใดๆ ในที่ประชุมใหญ่ จะต้องได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบจากเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้น ซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้จะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวน เสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้น ซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
  • การขายหรือโอนกิจการของบริษัทฯ ทั้งหมด หรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น
  • การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทมหาชนอื่น หรือบริษัทเอกชนมาเป็นของบริษัท
  • การทำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของบริษัทฯ ทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ การมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าจัดการธุรกิจของบริษัทฯ หรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่น โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรขาดทุนกัน
          บริษัทฯ กำหนดให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งการลงทะเบียนผู้ถือหุ้น การนับคะแนนและแสดงผล เพื่อให้การดำเนินการประชุมสามารถกระทำได้โดยรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
          ประธานในที่ประชุมหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากประธานในที่ประชุม จะเป็นผู้รายงานผลการนับคะแนน เสียงจากหนังสือมอบฉันทะที่ส่งมาก่อนการประชุมรวมกับคะแนนเสียงในที่ประชุม และแจ้งต่อที่ประชุมรับทราบ
     4) ประธานที่ประชุมได้ดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามลำดับระเบียบวาระที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุม และคณะกรรมการยังได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกรายแสดงความคิดเห็นและสามารถถามคำถามในแต่ละวาระ การประชุม รวมทั้งให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมและได้บันทึกประเด็นที่สำคัญไว้ในรายงานการประชุม
     5) บริษัทไม่ได้เพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญ โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า
     6)ได้ดำเนินการจัดการประชุมผู้ถือหุ้น โดยการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันโดยมีการอำนวยความสะดวกในการประชุมอย่างเท่าเทียมกันให้โอกาสที่เท่าเทียมกันในการถามคำถามต่อที่ประชุมและแสดงความเห็นในแต่ละวาระการประชุมและประธานที่ประชุมจะให้ความสำคัญ และตอบข้อซักถามในทุกประเด็น โดยมีการบันทึกการประชุมอย่างถูกต้องครบถ้วน
     7) ในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ กำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นในเรื่องต่างๆ ดังนี้ ผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมประชุมและลงคะแนนเสียงในการประชุมทุกครั้ง โดยสามารถเข้าร่วมประชุมและลงคะแนนเสียงได้ทุกวาระการประชุม เว้นแต่วาระที่ผู้ถือหุ้นรายใดมีส่วนได้เสีย และข้อกำหนดของกฎหมายห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนในวาระนั้นๆ
  • บริษัทฯ จะจัดให้มีการเผยแพร่สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกิจการแก่ผู้ถือหุ้นอย่างเพียงพอในการตัดสินใจในการประชุมแต่ละครั้ง ซึ่งได้จัดทำขึ้นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายคนและถอดถอนกรรมการตามที่กฎหมายกำหนด
  • สิทธิในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
  • ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนได้ และทำหนังสือมอบฉันทะตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด
  • ​ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบข้อมูลการถือหุ้นของตนเอง ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นได้ที่บริษัทหรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
     8) บริษัทฯ จะจัดการทำรายงานการประชุมหลังจากเสร็จการประชุมทุกครั้ง โดยได้บันทึกจำนวนผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง และมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมทั้งจำนวนรายและจำนวนหุ้น รวมทั้งสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่เข้าร่วมประชุมเทียบกับจำนวนหุ้นที่ได้จำหน่ายแล้วทั้งหมด รายงานการประชุมจะจัดทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 14 วัน นับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น โดยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ รายชื่อกรรมการและผู้บริหารที่เข้าประชุม และสัดส่วนกรรมการที่เข้าร่วมการประชุมไม่เข้าร่วมการประชุม วิธีการลงคะแนนและนับคะแนน มติที่ประชุม และ ผลการลงคะแนน (เห็นชอบ / ไม่เห็นชอบ / งดออกเสียง / บัตรเสีย / รวมทั้งหมด) ของแต่ละวาระประเด็นคำถามและคำตอบในที่ประชุม รวมทั้งชื่อ-นามสกุลของผู้ถามและผู้ตอบ ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นสามารถอ่านรายละเอียดของรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าว และดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ บริษัทฯ จะเปิดเผยให้สาธารณชนรับทราบถึงผลการลงคะแนนของแต่ละวาระการประชุมสามัญ และ/หรือการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันทำการถัดไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
 
3.2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บริษัทปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นแต่ละรายเท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าจะมีการถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงไม่เท่ากัน หรือจะมี เพศ อายุ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ความเชื่อ หรือฐานะทางสังคมแตกต่างกัน แต่ผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนี้
      1) การเผยแพร่ข้อมูลระยะเวลาการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท พร้อมการแจ้งข้อมูลวาระการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น โดยในการบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการจะจัดทำหนังสือนัด ประชุม ระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่เสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา และจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
      2) ดำเนินการให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าร่วมประชุม โดยบริษัทฯ จะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประชุม สิทธิการออกเสียงลงคะแนนตามแต่ละประเภทของหุ้น ขั้นตอนการออกเสียง ลงคะแนน การแสดงความคิดเห็น
      3) การประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทจะพิจารณาและลงคะแนนเสียงตามวาระที่กำหนดโดยไม่เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงวาระการประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าหากไม่จำเป็น
      4) การประชุมผู้ถือหุ้น กรณีผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเองให้มอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุม และออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้ โดยการมอบฉันทะนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือ ผู้ลงลายมือชื่อผู้มอบฉันทะและทำตามแบบที่นายทะเบียนบริษัทมหาชนกำหนด
      5) การใช้สิทธิคะแนนเสียง ผู้ถือหุ้นทุกคนมีคะแนนเสียง หนึ่งเสียงต่อหนึ่งหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นมีส่วนได้เสีย เป็นพิเศษในเรื่องอันใด ผู้ถือหุ้นจะออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้นมิได้ นอกจากการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการ
      6) การเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในบริษัทมีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรและสื่อสารให้พนักงาน ผู้บริหาร รวมถึงคณะกรรมการถือปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
      7) การรายงานการถือครองหลักทรัพย์ตามกฎหมาย บริษัทได้กำหนดให้กรรมการทุกคนและผู้บริหารที่มีหน้าที่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ตามกฎหมาย มีหน้าที่จัดส่งรายงานดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการ
      8) บริษัทฯ มีนโยบายให้กรรมการทุกคนมีหน้าที่เข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นตามสมควร และกำหนดให้เลขานุการบริษัทฯ รับผิดชอบดำเนินงานในวันประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส มีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นในการประชุมทุกคราว รวมถึงเอื้อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของตนได้ 

นโยบายและแนวทางปฏิบัติในการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน

กลุ่มบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลด
นโยบายการบริหารความเสี่ยง

กลุ่มบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลด
นโยบายความหลากหลายของคณะกรรมการ

กลุ่มบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลด
นโยบายและหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ

กลุ่มบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลด
นโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

กลุ่มบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลด
นโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายในและการรักษาข้อมูลอันเป็นความลับ

กลุ่มบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ดาวน์โหลด